December 9

0 comments

สมองสั่งไป แต่ใจขัดขวาง


“สมองสั่งไป แต่ใจขัดขวาง”
อุปสรรค “ตัวแม่” ที่ทำคุณไปไม่ถึงเป้าหมาย

เคยสงสัยตัวเองไหมครับว่า เวลาเราตั้งเป้าหมายแล้ว มักจะล้มเลิกกลางคันหรือเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง”?

มันเกิดอะไรขึ้นและอะไรเป็นสาเหตุ?

เรามีคำตอบให้ครับ

มันเกิดจาก “ความขัดแย้ง” ภายในตัวเราครับ
เปรียบเทียบง่ายๆแบบเห็นภาพก็คือ

ปั่นจักรยานขึ้นเนินเขาสูงชันเพื่อไปเข้าเส้นชัย หรือ

พายเรือทวนกระแสน้ำเชี่ยวเพื่อไปสู่เป้าหมาย

เป้าหมายคือที่ที่เราจะไป
ความขัดแย้งก็คือแรงกระแทก “สวนทาง”
กับเป้าหมาย
ยิ่งมีความขัดแย้งมากเท่าไหร่
แรงฉุดกระชากถอยหลังก็จะมีมากเท่านั้น

ทำให้เราเหนื่อยมากขึ้นเวลาทำอะไรเพื่อไปสู่เป้าหมาย
สุดท้ายพอเหนื่อยล้าทางใจมากเข้า
ก็เลิกทำมันซะเลย

ถ้าเราไม่มีความขัดแย้ง
มันก็เปรียบเสมือน เราปั่นจักรยานทางเรียบ พายเรือในน้ำนิ่ง เพื่อไปสู่เป้าหมาย ไปได้ไวหรือไปได้ช้าก็ขึ้นอยู่กับแรงของเรา

แต่อย่างน้อย ก็ไม่มีแรงต้านหรือแรงฉุดที่บังคับให้เราต้องใช้พลังมากกว่าปกติ

แล้วความขัดแย้งมันคืออะไร แก้ยังไงล่ะ

โชคดีครับ เพราะเราก็มีคำตอบให้คุณอีกเช่นกัน

ตามผมมาครับ เราจะไปทำความรู้จักความขัดแย้ง
และวิธีทางที่จะแก้มันให้หาย

อันแรก “ความขัดแย้งด้านอารมณ์”
อันนี้เป็นปรากฏการณ์ชั้นนอกสุด เห็นได้ชัดเจน
เช่น อยากลดน้ำหนักแต่ก็อยากกิน
อยากออกกำลังกายแต่ก็ขี้เกียจ
อยากมีเงินเยอะแต่ไม่อยากทำงานหนัก
คือประมาณว่า “อันนี้ก็อยากทำ” แต่ “อันนี้ก็อยากทำ” หรือในทางตรงกันข้าม

วิธีแก้ : ทำให้ชัดโดยถามตัวเองครับว่า แท้ที่จริงแล้ว”คุณต้องการอะไร” และ “ทำไมคุณถึงต้องการมัน”

อันที่สอง “ความขัดแย้งด้านความเชื่อ”
เช่นคนบางคนต้องการรวยหรือมีเงินเยอะ
แต่ดันเชื่อว่าเงินคือสิ่งที่ไม่ดี หรือไม่ชอบคนรวย
แค่ตั้งเป้าจะรวยก็ถูกเตะสกัดแล้ว
หรือต้องการรักแท้
แต่เชื่อว่ามันไม่มีจริง
ถ้าเป็นอย่างนี้ชาตินี้ก็คงไม่เจอรักแท้แน่นอน

ความขัดแย้งอันนี้ดูผิวเผินดูไม่ออกครับ
ต้องทำโดยการค้นเอา “ความเชื่อ” ที่ขัดแย้ง
ออกมาพิจารณาดูกัน

วิธีแก้ : หาทางกำจัดความเชื่อเดิมที่ไม่สนับสนุนเป้าหมายเราทิ้งไปซะ โดยการหาตัวอย่างต่างๆมาหักล้างความเชื่อเดิม หรือถ้าจำเป็น ก็ต้องให้ “ความหมายใหม่” กับ “ความเชื่อเดิม”

อันที่สาม “ความขัดแย้งเกี่ยวกับตัวตน”
อันนี้ยิ่งลึกลงไปอีกครับ นั่นก็คือ
ไม่สามารถนึกภาพตัวเองตอนบรรลุเป้าหมายได้
ซึ่งนั่นก็คือ ตัวเราเองเชื่อว่าเราไม่คู่ควร
เราไม่ดีพอ ไม่มีค่าพอ สำหรับเป้าหมายนี้
คือลึกๆแล้ว ไม่มีความมั่นใจที่จะจัดการกับการบรรลุเป้าหมายที่ตัวเองตั้งไว้ได้

วิธีแก้ : ต้องเริ่มจาก “รัก” และ “ชอบ” ตัวเองก่อนครับ การทำ Incantation ก็ช่วยได้ หรือจะทดลองทำ “ตัวตนสมบูรณ์แบบ” ก็จะยิ่งดี

ลองสำรวจตัวเองดูนะครับว่า “คุณมีความขัดแย้ง” กับเป้าหมายบ้างรึป่าว

#โค้ชเพียว
#สำเร็จไวถ้าใช้สมองเป็น

__CONFIG_colors_palette__{"active_palette":0,"config":{"colors":{"62516":{"name":"Main Accent","parent":-1}},"gradients":[]},"palettes":[{"name":"Default Palette","value":{"colors":{"62516":{"val":"var(--tcb-skin-color-0)"}},"gradients":[]},"original":{"colors":{"62516":{"val":"rgb(19, 114, 211)","hsl":{"h":210,"s":0.83,"l":0.45}}},"gradients":[]}}]}__CONFIG_colors_palette__
__CONFIG_colors_palette__{"active_palette":0,"config":{"colors":{"89b00":{"name":"Main Accent","parent":-1},"f4f63":{"name":"Accent Dark","parent":"89b00","lock":{"saturation":1}}},"gradients":[]},"palettes":[{"name":"Default","value":{"colors":{"89b00":{"val":"var(--tcb-skin-color-0)"},"f4f63":{"val":"rgb(28, 40, 49)","hsl_parent_dependency":{"h":206,"l":0.15,"s":0.27}}},"gradients":[]},"original":{"colors":{"89b00":{"val":"rgb(19, 114, 211)","hsl":{"h":210,"s":0.83,"l":0.45,"a":1}},"f4f63":{"val":"rgb(12, 17, 21)","hsl_parent_dependency":{"h":206,"s":0.27,"l":0.06,"a":1}}},"gradients":[]}}]}__CONFIG_colors_palette__
Previous Article
__CONFIG_colors_palette__{"active_palette":0,"config":{"colors":{"89b00":{"name":"Main Accent","parent":-1},"f4f63":{"name":"Accent Dark","parent":"89b00","lock":{"saturation":1}}},"gradients":[]},"palettes":[{"name":"Default","value":{"colors":{"89b00":{"val":"var(--tcb-skin-color-0)"},"f4f63":{"val":"rgb(28, 40, 49)","hsl_parent_dependency":{"h":206,"l":0.15,"s":0.27}}},"gradients":[]},"original":{"colors":{"89b00":{"val":"rgb(19, 114, 211)","hsl":{"h":210,"s":0.83,"l":0.45,"a":1}},"f4f63":{"val":"rgb(12, 17, 21)","hsl_parent_dependency":{"h":206,"s":0.27,"l":0.06,"a":1}}},"gradients":[]}}]}__CONFIG_colors_palette__
Next Article

โค้ชเพียว - ดร.วีรพงษ์ ศรัทธาผล

About the author

โค้ชเพียว - ดร.วีรพงษ์ ศรัทธาผล นักสร้างสมองแห่งความสำเร็จ (โค้ชเพียว) จบปริญญาเอกจาก จากมหาวิทยาลัยโตเกียว (The University Of Tokyo) มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น (ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น) และเป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ตั้งแต่อายุยังน้อย ได้รับผิดชอบงานที่สำคัญทั้งในเรื่องของการพัฒนาองค์กร และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แต่เขาก็ไม่เคยหยุดยั้งในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อก้าวสู่เป้าหมายความสำเร็จที่ท้ายทายอยู่เสมอ

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

ติดตามโค้ชเพียว ในโลกโซเชียลได้ที่

>