January 14

0 comments

รู้เท่าทันสมอง เดอะซีรี่ย์ ตอนที่ 2: คุณมีสมองมากกว่าหนึ่งสมอง รู้ตัวบ้างไหม


รู้เท่าทันสมอง เดอะซีรี่ย์ ตอนที่ 2: 

คุณมีสมองมากกว่าหนึ่งสมอง รู้ตัวบ้างไหม

———————————————————————————-

คุณรู้ไหมว่าคุณไม่ได้มีสมองแค่อันเดียว ที่จริงแล้ว คุณมีสมองมากกว่าหนึ่งสมอง!!

สมองส่วนคอยระวังภัยหรือ “ส่วนสัญชาติญาณ” หรือ ที่เราเรียกว่า

“สมองโบราณ” ที่เราคุยกันตอนที่แล้วจะทำงานเหมือน “เบรก” รถดีๆนี่เอง

.

แต่มนุษย์เรานอกเหนือจากการเอาตัวรอดตามสัญชาติญาณแล้ว

ก็ยังมีความต้องการที่หลากหลายมากมายอลังการดาวล้านดวงอีกด้วย 

ไม่ว่าจะเป็น เงินทอง ชื่อเสียง อำนาจ สิ่งของ คนรัก สุขภาพ 

ความสุขสนุกสนาน ความสงบ ความสัมพันธ์

ซึ่งจำเป็นต้องใช้สมองอีกส่วนหนึ่ง ที่เรียกว่า “สมองส่วนหน้า” หรือ “สมองส่วนช้า”

ในการทำหน้าที่ คิด วิเคราะห์ หาเหตุผล ประมวลผลเชิงตรรกกะ รวมไปถึง 

การสร้างสติสัมปชัญญะให้กับเรา เพื่อนำพาเราลงมือทำไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการ

.

เวลาที่คนเรามีความอยากได้เป้าหมาย หรือต้องการอะไรบางอย่างให้เกิดขึ้นกับชีวิต

สมองส่วนนี้ก็จะทำงานเหมือน “คันเร่ง” ที่คอยผลักดันเราให้ออกจากจุดเดิมเสมอ

สมองส่วนนี้กินพื้นที่ของสมองทั้งหมดมากกว่า 40 เปอร์เซนต์ 

มากกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแบบเยอะมากๆ

และก็เพราะสมองส่วนนี้เช่นกันที่ทำให้วิวัฒนาการทางสังคมความคิดจิตใจ

ของคนเราพัฒนาซับซ้อนมากกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆอย่างเทียบไม่ติด

.

ในการที่จะเข้าใจกลไกการทำงานของสมองทั้งสองอย่างนี้

ให้เราลองนึกจินตนาการว่า วันนี้เรากำลังขับรถไปเที่ยวสถาณที่สักแห่งหนึ่ง

เราอยากไปให้ถึงเร็วมากๆ เพราะใจไปอยู่ที่นั่นตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว

เราก็จะเหยียบ “คันเร่ง” โดยไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม อะไรทั้งนั้น 

แล้วเราก็จะแตะ “เบรก” น้อย และ “แตะ” ในกรณีที่มันจำเป็นและจวนตัวจริงๆ

แต่ถ้าเรากลัวหรือกังวลอันตรายตลอดเวลา ใจหนึ่งก็อยากถึงอีกใจหนึ่งก็กลัวอันตราย

เราก็จะขับรถแบบระวังภัยขั้นสุด ใจเราจะไม่อยู่ที่ “คันเร่ง” แต่จะไปจะไปอยู่ที่ “เบรก” แทน

.

ดังนั้นแล้ว ถ้าเราคิดตามหลักการปกติในการออกแบบรถยนต์เกียร์อัตโนมัต

“เบรก” คือสิ่งที่เราต้องเหยียบเป็นอันดับแรก 

เมื่อเราปล่อย “เบรก” รถจึงจะเคลื่อนตัวออกไปแบบช้าๆ

และเมื่อเราแตะ “คันเร่ง” รถถึงจะพุ่งตัวไปข้างหน้าตามระดับ “ความซิ่ง” ของเรา

.

สมองก็ถูกออกแบบมาเช่นเดียวกัน “เบรก” ก็คือ “สมองส่วนอัตโนมัติ” 

“คันเร่ง” ก็คือ “สมองส่วนหน้า” นั่นเอง

เมื่อเข้าใจกลไกของมันแล้ว คราวนี้ถ้าเราอยากไปถึงเป้าหมายเร็วๆ

แบบมีสติสัมปชัญญะ เราก็ต้องมาหาทางผ่อน “เบรก” และแตะ “คันเร่ง” กันครับ

.

ที่สมองมันต้อง “เบรก” ก็เพราะสมองกลัวว่า “มันจะเป็นอันตราย”

อันตรายของสมองนี้จะแบ่งได้เป็นสองแบบ ก็คือ  

“อันตรายต่อชีวิต” และ “อันตรายต่อจิตใจ”

ดังนั้นวิธีผ่อน “เบรก” ให้สมองรู้สึก “ปลอดภัย” คลายความ “กลัว” 

ก็ให้แก้ไปตามเงื่อนไขตามธรรมชาติของสมองครับ

.

เริ่มที่ “สมองส่วนอัตโนมัติ” กันก่อน สมองส่วนนี้ “กลัวตาย” ชัดเจน

ความรู้สึกกลัวของคนเราเชื่อมโยงโดยตรงกับ “การหายใจ” 

ให้นึกภาพว่า ถ้าเราเดินหลงป่าแล้วดันเดินไป “เจอเสือ” 

คงไม่ต้องบอกนะครับว่า ทั้งหัวใจเต้นและการหายใจเราจะเป็นยังไง

อันนั้นคือภาวะ “อันตรายต่อชีวิต” ที่สมองรับรู้ 

ดังนั้นเมื่อเรารู้สึกกลัวเมื่อตั้งเป้าหมาย ให้เราค่อยๆนั่งหรือนอนลงช้าๆ 

เอามือจับหัวใจแล้วค่อยๆหายใจเข้าออกลึกๆช้าๆหลายๆครั้ง

พร้อมกับบอกตัวเองใจใจไปด้วยว่า “ไม่มีอะไรน่ากลัว ที่นี่ปลอดภัย”

สมองจะรับรู้ว่า เรา “อยู่ในที่ที่ปลอดภัย” แล้ว 

.

คราวนี้ส่วนที่เป็นความท้าทายอย่างมากก็คือ “อันตรายต่อจิตใจ”

อาการที่แสดงออกมาชัดเจนก็คือ เครียด กดดัน วิตกกังวล กลัวล้มเหลว 

อันนี้จะเชื่อมโยงโดยตรงกับสมองส่วนช้าล้านเปอร์เซนต์ 

เพราะว่าเราป้อนข้อมูลบางอย่างที่ไม่ใช่อยู่ในรูปแบบที่สมองคุ้นเคยเข้าไปนั่นเอง

.

ดังนั้นเราจะต้องให้สมองส่วนนี้ผ่อน “เบรก” และแตะ “คันเร่ง” ทันที

โดยการให้สมองได้ประมวลผลคิดวิเคราะห์หาเหตุผลผ่านการตั้งคำถาม

คำถามที่เราจะถามสมองของเราก็คือ (ให้ลองตั้งเป้าหมายแล้วถามตัวเองไปด้วยครับ)

.

คำถามที่ 1

“ฉันรู้ว่าเป้าหมายนี้มันยากนะ แต่ฉันจะทำให้มันสำเร็จได้ยังไง” 

.

คำถามที่ 2

“ถ้าฉันไม่รู้เรื่องนี้(การทำเป้าหมายให้สำเร็จ) แล้วมีใครที่พอจะรู้เรื่องนี้บ้าง”

.

คำถามที่ 3

“ถ้าฉันไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ แล้วใครพอจะมีบ้าง”

.

ลองถามแล้วลองตอบตัวเองดู แล้วลองประเมินดูสิว่าตอนนี้เรารู้สึกยังไงบ้างกับเป้าหมายนี้

.

นอกจากการผ่อน “เบรก” และ แตะ “คันเร่ง” แล้ว 

เรายังต้องการ ระบบนำทาง GPS แบบ 4D ที่แม่นยำชัดเจน 

และไม่หายไปถึงแม้จะไม่มีสัญญาณอินเตอร์เนต 

เพื่อที่ว่า ต่อให้เราขับรถหลงทาง ระบบนี้ก็จะนำทางเรากลับมาอยู่ในเส้นทาง

ที่จะพาเราไปสู่เป้าหมายได้ตลอดเวลานั่นเอง

.

การจะทำให้ระบบนำทางเราชัดเจนในสมอง 

เราต้องการให้สมองหลั่งสารเคมี สองตัวออกมา

เพื่อที่ว่ามันจะได้ปักเป้าหมายไว้ไม่ลืมเลือน เหมือนที่เราปัก GPS

สารที่ว่านั้นก็คือ  “สารแห่งความตื่นเต้น” (โดรพามีน)

และ “สารแห่งความรักและผูกพันธ์” (ออกซิโตซิน)

.

ประเด็นมันอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรให้สารเคมี 2 ตัวนี้หลั่งออกมาในสมองยอะๆ 

เพื่อจะให้เรารู้สึกตื่นเต้นและ ผูกพันธ์กับเป้าหมายนี้ ซึ่งเราสามารถทำได้โดย

เขียนเป้าหมายและสร้างวิชั่นบอร์ด เอาภาพเป้าหมายมาดูทุกวี่ทุกวัน

จินตนาการถึงความสำเร็จ  และเล่าให้คนคอเดียวกันฟังถึงเป้าหมายของเรา

.

ขอเตือนไว้อย่างหนึ่งนะครับ อย่าไปเล่าความฝันหรือเป้าหมาย

ให้คนที่ชอบขัดคอเราฟังบ่อยๆ 

เพราะเดี๋ยวสมองจะได้รับการยืนว่า “คุณทำไม่ได้หรอก” 

แล้วคุณจะหลงเชื่อไปตามนั้นจริงๆ

.

เมื่อถึงตอนนั้นก็ไม่มีใครช่วยคุณได้แล้วครับ 

แต่ถ้าตอนนั้นมาถึง ก็มาหาโค้ชได้นะครับ ยังพอมีทางแก้อยู่55

———————————————————————————-

โค้ชเพียว

ดร. วีรพงษ์ ศรัทธาผล

__CONFIG_colors_palette__{"active_palette":0,"config":{"colors":{"62516":{"name":"Main Accent","parent":-1}},"gradients":[]},"palettes":[{"name":"Default Palette","value":{"colors":{"62516":{"val":"var(--tcb-skin-color-0)"}},"gradients":[]},"original":{"colors":{"62516":{"val":"rgb(19, 114, 211)","hsl":{"h":210,"s":0.83,"l":0.45}}},"gradients":[]}}]}__CONFIG_colors_palette__
__CONFIG_colors_palette__{"active_palette":0,"config":{"colors":{"89b00":{"name":"Main Accent","parent":-1},"f4f63":{"name":"Accent Dark","parent":"89b00","lock":{"saturation":1}}},"gradients":[]},"palettes":[{"name":"Default","value":{"colors":{"89b00":{"val":"var(--tcb-skin-color-0)"},"f4f63":{"val":"rgb(28, 40, 49)","hsl_parent_dependency":{"h":206,"l":0.15,"s":0.27}}},"gradients":[]},"original":{"colors":{"89b00":{"val":"rgb(19, 114, 211)","hsl":{"h":210,"s":0.83,"l":0.45,"a":1}},"f4f63":{"val":"rgb(12, 17, 21)","hsl_parent_dependency":{"h":206,"s":0.27,"l":0.06,"a":1}}},"gradients":[]}}]}__CONFIG_colors_palette__
Previous Article
__CONFIG_colors_palette__{"active_palette":0,"config":{"colors":{"89b00":{"name":"Main Accent","parent":-1},"f4f63":{"name":"Accent Dark","parent":"89b00","lock":{"saturation":1}}},"gradients":[]},"palettes":[{"name":"Default","value":{"colors":{"89b00":{"val":"var(--tcb-skin-color-0)"},"f4f63":{"val":"rgb(28, 40, 49)","hsl_parent_dependency":{"h":206,"l":0.15,"s":0.27}}},"gradients":[]},"original":{"colors":{"89b00":{"val":"rgb(19, 114, 211)","hsl":{"h":210,"s":0.83,"l":0.45,"a":1}},"f4f63":{"val":"rgb(12, 17, 21)","hsl_parent_dependency":{"h":206,"s":0.27,"l":0.06,"a":1}}},"gradients":[]}}]}__CONFIG_colors_palette__
Next Article

โค้ชเพียว - ดร.วีรพงษ์ ศรัทธาผล

About the author

โค้ชเพียว - ดร.วีรพงษ์ ศรัทธาผล นักสร้างสมองแห่งความสำเร็จ (โค้ชเพียว) จบปริญญาเอกจาก จากมหาวิทยาลัยโตเกียว (The University Of Tokyo) มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น (ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น) และเป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ตั้งแต่อายุยังน้อย ได้รับผิดชอบงานที่สำคัญทั้งในเรื่องของการพัฒนาองค์กร และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แต่เขาก็ไม่เคยหยุดยั้งในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อก้าวสู่เป้าหมายความสำเร็จที่ท้ายทายอยู่เสมอ

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

ติดตามโค้ชเพียว ในโลกโซเชียลได้ที่

>